การตรวจสารบ่งชี้มวลกระดูก (Bone Marker)
หลายท่านอาจเคยได้ยินหรือรู้จัก ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ทำให้มีการสลายมวลกระดูกมากขึ้น และการสร้างมวลกระดูกลดลง เกิดภาวะเสียสมดุลระหว่างการสลายมวลกระดูกเดิมและการสร้างมวลกระดุกใหม่ และส่งผลกระดูกเสื่อมและกระดูกหักง่ายขึ้น การตรวจวินิจฉัยหลัก จะใช้การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกด้วยวิธีการทางรังสีวิทยา (DEXA) และนอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาสารที่บ่งชี้ถึงการสร้างมวลกระดูก หรือการสลายมวลกระดูกได้ ซึ่งเรียกว่า “Bone Marker” โดยอาศัยการตรวจเลือด หรือปัสสาวะ เนื่องจากสารบ่งชี้มวลกระดูกมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว และมีความไวในการตรวจมากกว่าการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก ดังนั้นสารบ่งชี้มวลกระดูกจึงถูกนำมาใช้พยากรณ์โรค และตรวจติดตามการรักษาภาวะกระดูกพรุน ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยให้การวินิจฉัยและติดตามการรักษาภาวะกระดูกพรุน รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตัวอย่างสารบ่งชี้มวลกระดูก ที่นิยมส่งตรวจมากในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สารบ่งชี้มวลกระดูกเพื่อดูการสร้างมวลกระดูก (Bone formation marker) Bone alkaline phosphatase (ALP-B)เป็นเอนไซม์ที่สร้างจากเซลล์ osteoblast เพื่อใช้สลายฟอสเฟตเพื่อใช้ในกระบวนการสะสมแร่ธาตุของกระดูก พบค่าสูงในเด็กวัยเจริญเติบโต หรือ ในมะเร็งกล้ามเนื้อและกระดูก Osteocalcin เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเนื้อเยื่อกระดูกที่ไม่ใช่คอลลาเจน ประกอบด้วยกรดกลูตามิคปริมาณมาก เมื่อมีการสร้างกระดูก Osteocalcin จะเพิ่มสูงขึ้นในกระแสเลือด และถูกขับออกทางไตได้ โดยตรวจวิเคราะห์ใน เลือด สารบ่งชี้มวลกระดูกเพื่อดูการสลายมวลกระดูก (Bone resorption marker) Beta-CrossLaps …